คนหิวเกมกระหายเต็มเรื่อง
คนหิวเกมกระหายเต็มเรื่อง ภาพยนตร์ HUNGER คนหิว เกมกระหาย ที่จั่วหัว เข้าเป้าเรื่อง ความเหลื่อมล้ำผ่านความหิว ผลงานคนไทย กลายเป็นภาพยนตร์ที่ขึ้นอันดับ 1 Netflixพูดประเด็นแรงมันย่อมกระแทกใจ ภาพยนตร์ HUNGER คนหิว เกมกระหาย ที่จั่วหัว เข้าเป้าเรื่อง ความเหลื่อมล้ำผ่านความหิว กลายเป็นภาพยนตร์ที่ขึ้นอันดับ 1 Netflix จากการจัดอันดับของ FlixPatrol เว็บไซต์จัดอันดับคอนเทนต์สตรีมมิ่งจากแพลตฟอร์มทั่วโลก
ภาพยนตร์ HUNGER คนหิว เกมกระหาย คนหิว เกมกระหาย คนหิวเกมกระหายเต็มเรื่องเป็นผลงานหนังไทยคุณภาพอีกเรื่องหนึ่งที่น่าจับตามอง โดย หนัง HUNGER เป็นผลงานการกำกับของ “โดม-สิทธิศิริ มงคลศิริ” โดยมี “โสฬส สุขุม” รับหน้าที่เขียนบท และ “คงเดช จาตุรันต์รัศมี” เป็นโปรดิวเซอร์
หนัง HUNGER ถ่ายทอด เรื่องราวของ “ออย” (แสดงโดย ออกแบบ-ชุติมณฑน์ จึงเจริญสุขยิ่ง) นักทำอาหารข้างถนนย่านตลาดเก่าผู้ต้องสืบทอดมรดกร้านราดหน้าผัดซีอิ๊วสตรีตฟู้ดต่อจากพ่อ สาวผู้มีพรสวรรค์ที่ผลักดันตัวเองจนมีโอกาสได้ร่วมงานกับ “เชฟพอล” ผู้ก่อตั้ง Hunger ทีมเชฟมือหนึ่งของประเทศ และเชฟพอลเป็นเชฟที่ขึ้นชื่อว่าไม่เคยปรานีใคร
HUNGER คนหิว เกมกระหาย : จัดจ้าน รุนแรง ส่องสังคมความเหลื่อมล้ำผ่านความหิว
โดย ภาพยนตร์ เรื่องนี้ สร้างกระแสดราม่ามากมาย อาทิ “หนุ่ม กิติกร เพ็ญโรจน์” เจ้าพ่อเรียลลิตี้ผู้ปลุกปั้นรายการ เชฟกระทะเหล็ก, MasterChef Thailand ได้มาออกมาจวกยับว่าเป็นหนังที่ไม่ให้เกียรติอาชีพเชฟ แม้ไม่ได้เอ่ยชื่อหนังเรื่องดังกล่าวก็ตาม
นอกจากนี้ ยังมี คำพูดในภาพยนตร์มากมาย ที่ถูกแชร์ต่อกัน อาทิ คำพูดพ่อของ “ออย” ที่พูดถึงอาหารแพงๆ ว่า “มันแพงเพราะมันพิเศษ หรือมันพิเศษเพราะมันแพงวะ”
“คนจนเวลาหิว ก็แค่ต้องการอาหารให้อิ่ม แต่พอไม่มีปัญหาปากท้อง ความหิวก็เปลี่ยนไป หิวการยอมรับ ความพิเศษ หิวประสบการณ์ที่เหนือกว่าคนอื่น” ซึ่งคำพูดนี้ เป็นคำพูดของ เชฟพอล (แสดงโดย ‘ปีเตอร์-นพชัย ชัยนาม’) เป็นต้น
เมื่อปากท้องไม่ใช่ปัญหาสลักสำคัญ ไม่ใช่สิ่งที่ต้องดิ้นรนวิ่งหาอย่างยากลำบาก
ความหิวก็กลับกลายสภาพเป็นอย่างอื่น
บ้างหิวอำนาจ หิวความสำเร็จ หิวการยอมรับ คนหิวเกมกระหายเต็มเรื่อง หรือแม้แต่หิวประสบการณ์ที่เหนือชั้นกว่าคนอื่น..โดยไม่สนว่าต้องแลกมากับอะไร
คุณรู้จักความหิวดีพอหรือยัง?
รู้หรือเปล่าว่า “ความหิว” บีบให้คนเราทำอะไรได้บ้าง?
นั่นคือคำเชิญชวนจาก “HUNGER คนหิว เกมกระหาย” ที่กระตุ้นให้ต่อมความหิวโหยของเหล่าคนดูกำเริบ ภาพยนตร์เรื่องล่าสุดจากฝีมือการกำกับของสิทธิศิริ มงคลศิริ โดยได้คงเดช จาตุรันต์รัศมี รับหน้าที่เขียนบทและนั่งแท่นโปรดิวเซอร์ร่วมกับ โสฬส สุขุม
“ออย” ทายาทร้านราดหน้า–ผัดซีอิ๊วที่ได้รับคำเชิญชวนให้เข้าไปอยู่ในทีม “Hunger” ทีมของเชฟพอล เชฟอันดับหนึ่ง ยอดอัจฉริยะ แต่นั่นกลับเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ออยค้นพบด้านมืดของวงการอาหารชั้นสูง และรู้จักอำนาจแห่งความหิวกระหายที่อยู่เหนือสิ่งใด
หากใครคาดหวังเรื่องราวของอาหารล้วนๆ อาจจะไม่ตรงใจสักเท่าไร เรียก “Hunger” ว่าภาพยนตร์ตีแผ่สังคมผ่านจานอาหารโดยมีนิยามของ “ความหิว” เป็นแกนหลักน่าจะเข้าท่ากว่า มีจังหวะกัดจิก ตั้งคำถามกับการเมือง สังคม ชนชั้นอย่างโจ่งแจ้ง มีการจัดวางภาพและสัญญะต่างๆให้ได้ขบคิดตีความอยู่เสมอ
“เพราะอาหารนั้นพิเศษจึงแพง หรือความแพงทำให้อาหารนั้นพิเศษ”
โลกของเชฟพอล โลกของออย , ครัว Fine Dinning หรูหรา ร้านผัดซีอิ๊วของครอบครัว โต๊ะอาหารสุดอู้ฟู่ในงานปาร์ตี้ของเหล่าไฮโซ ร้านอาหารข้างทางที่มีคนงานหาเช้ากินค่ำ ห้องพักฟื้นแสนสงบ กับห้องผู้ป่วยรวมที่แออัด
ภาพคู่ขนานร้องเรียงต่อกันมาเรื่อยๆ สะท้อน “ความเหลื่อมล้ำ” สิ่งที่นำมาซึ่งความหิว และยังชวนให้ติดตามว่าความหิวจะนำพาตัวละครไปถึงจุดไหน ในวันที่ความกระหายบีบรัดเราทุกทาง เรายังจะยืนหยัดในตัวตนได้หรือเปล่า ยังจะมั่นคงกับมาตรฐานคุณธรรมของโลกนี้หรือไม่ ที่น่าขนลุกคือภาพที่เราได้เห็นเป็นเรื่องจริง ของจริง มีอยู่จริงในสังคมของเราจริงๆ แบบไม่อิงนิยาย เพียงแค่ภาพยนตร์ขยายให้เห็นชัดเจน ขยี้จนติดตาทุกฉากทุกตอน
นอกจากนักแสดงมากฝีมือที่ช่วยกันรับส่งอารมณ์ โต้ตอบกันอย่างเชือดเฉือน สาดอารมณ์กันแบบเดือดสะใจ อีกองค์ประกอบที่ช่วยเพิ่มความเข้มข้น และเป็นดั่งเครื่องปรุงรสชั้นยอด คือ “เสียง” เสียงเพลง เสียง ASMR ระหว่างทำอาหารบีบคั้นอารมณ์บางเวลาก็ทำให้รู้สึกขยะแขยง สะอิดสะเอียนได้เลย ดีจนนึกเสียดายที่ภาพยนตร์เรื่องนี้ไม่ได้ฉายขึ้นจอเงินในระบบเสียงคุณภาพอย่างรอบพรีเมียร์
สิ่งที่จะต้องระวังในการดูคือสำหรับคนที่กลัวเลือด กลัวร่องรอยแผล อาจจะรู้สึกไม่สบายใจกับหลายฉาก หลายตอนได้ และมีแสงไฟที่อาจทำให้มึนหัวอยู่พอสมควร
โดยรวมจัดได้ว่าเป็นความหวังของภาพยนตร์ไทยต้นปีนี้เลยก็ว่าได้ เข้มข้นเต็มรส อิ่มทุกอารมณ์ ดุเดือดจนนั่งไม่ติดเก้าอี้ แต่จะเป็นรสชาติที่ถูกปากหรือเปล่า ต้องไปลองลิ้มชิมกันเอง 8 เมษายนนี้ ที่ Netflix เท่านั้น ดูพร้อมกัน 14.00 น. (เวลาไทย) กว่า 190 ประเทศทั่วโลก
“คนธรรมดาก็กินอาหารให้อิ่มท้อง แต่พอเป็นคนไม่มีปัญหาเรื่องปากท้อง ความหิวก็เปลี่ยนไป เริ่มหิวการยอมรับ หิวความพิเศษ หิวประสบการณ์ที่เหนือคนอื่น”
เริ่มต้นปีมากับ ‘ฮังเกอร์ คนหิว เกมกระหาย (HUNGER)’ ภาพยนตร์น้ำดีจากเน็ตฟลิกออริจินัลงาน กำกับโดย สิทธิศิริ มงคลศิริ (แสงกระสือ) และโปรดิวซ์โดย คงเดช จาตุรันต์รัศมี (Where We Belong) พร้อมจะมาวิพากษ์ระบบชนชั้น ชำแหละความเป็นมนุษย์
ด้วยเมนูอาหารสุดหรูหรา ที่ว่าด้วยเรื่องราวของ ‘ออย’ ลูกสาวคนโต ผู้สืบทอดกิจการร้านราดหน้า-ผัดซีอิ๋วต่อจากพ่อ จนกระทั่งวันหนึ่งชีวิตของเธอต้องเปลี่ยนไป เมื่อเชฟหนุ่ม ‘โตน’ ได้เข้ามาชักชวนให้เธอเข้าร่วมทีมเชฟชื่อดัง ‘HUNGER’ โดยมี ‘เชฟพอล’ เป็นผู้นำทัพ คอยทำอาหารให้เหล่าบรรดา ‘ไฮโซ’ ได้รับประทาน และนี่ก็คือจุดเริ่มต้นของเรื่องราวอันชวนระทึกเล้าใจ ของวงการอาหารไฮเอนด์ ความหิวกระหายจากเบื้องลึกในจิตใจของมนุษย์ ซึ่งล่าสุดฮังเกอร์ได้สร้างประวัติศาสตร์ใหม่ให้กับหนังไทย โดยการขึ้นท็อปอันดับที่ 3 ของโลกในหนังที่มีคนรับชมมากที่สุดของเน็ตฟลิกแล้ว *เปิดเผยเนื้อหาสำคัญของหนัง*
‘ความหิว’ ที่ไม่ใช่ ‘การกิน’
เมื่อออยได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับทีมเชฟฮังเกอร์ คนหิวเกมกระหายเต็มเรื่อง เธอทั้งรู้สึกภูมิใจ และหิวกระหาย ‘ความพิเศษ’ จากตอนแรกที่เธออยู่ในร้านอาหารสตรีทฟู้ดธรรมดา จนวันหนึ่งได้ขยับขึ้นมาอยู่ในฐานะเชฟระดับไฮเอนด์ที่พิเศษขึ้นดั่งที่ใจเธอต้องการ ออยต้องสู้กับความกดดันกับการทำอาหารในฐานะเชฟคนใหม่ “กูบอกอย่าเลื่อย!” เสียงเชฟพอลตะหวาดออยผู้ที่ทำการเลื่อยเนื้อ A5 ไม่เป็น แถมเธอยังทำพังไม่เป็นท่าเมื่อถึงขั้นตอนการผัด แต่เพราะไฟแห่งความกระหาย ‘การยอมรับ’ ที่ทำให้เธอไม่หยุดที่จะพยายาม
‘ความหิว’ ที่ ‘แตกต่างกัน’
ฉากที่ทำให้เรารู้สึกประทับใจเป็นพิเศษคือฉาก ‘กินเลือด กินเนื้อ’ ที่มีแต่บรรดานักการเมือง และไฮโซจากแวดวงนักธุรกิจ ร่วมอยู่ด้วยกันเพื่อรอรับประทานอาหารจากฝีมือของเชฟพอล ซึ่งคนเหล่านี้ไม่ว่าเชฟพอลจะทำอาหารอะไรเสิร์ฟให้ลิ้มลอง ก็พร้อมจะอ้าปากพะงาบเพื่อดื่มด่ำกับรสชาติระดับไฮเอนด์ ซึ่งต้องจองคิวนานข้ามปี และธีมหลักของงานนี้ก็คือ “การกินเลือดกินเนื้อ สีต้องจัด ทุกอย่างต้องฉ่ำ กินแล้วต้องเลอะมุมปาก” ซึ่งนับเป็นการเสียดสีเหล่าบรรดาผู้มีอำนาจได้อย่างสะใจ และตรงไปตรงมา ในขณะที่คนธรรมดา กินก็เพื่ออยู่ กินก็เพื่ออิ่ม กินเพื่อมีชีวิตต่