คนหิว เกมกระหาย
คนหิว เกมกระหาย ทางด้านเชฟพอล ที่ถึงจะครองตำแหน่งเป็นถึงสุดยอดเชฟของประเทศ และปรุงอาหารได้เลิศรส แต่เราก็ไม่สามารถเชื่อได้อย่างสนิทใจเลยว่าอาหารของเชฟสมควรได้รับการขนานนามว่าอร่อยจริง เพราะความหยิ่งเหยียดที่เชฟประโคมใส่บรรดาลูกค้าไฮโซทั้งหลาย ปะปนไปด้วยการล่มถุยและต้องการชัยชนะ โดยเฉพาะภาพของความตะกละตะกลามที่ออกมาของแต่ละมื้ออาหารก็ช่างน่าขยะแขยง อี๋แอะในความจอมปลอมอย่างเห็นได้ชัด จนคิดว่านี่อร่อยขนาดนี้กันจริง ๆ หรือเป็นอุปทานหมู่กันแน่
จุดนี้ถือว่าเป็นงานภาพและองค์ประกอบศิลป์ ที่ยอดเยี่ยม รวมไปถึงการกำกับที่ต้องเอ่ยปากชมว่าสามารถทำให้คนดูรู้สึกคล้อยตามและสัมผัสความรู้สึกนั้นได้ โดยไม่ต้องการคำแปล รวมไปถึงแสง สีและงานโปดักชันทั้งหมดที่น่าประทับใจ ก็ทำให้หนังเรื่องนี้สามารถเล่าเรื่องได้โดยไม่ต้องอาศัยคำอธิบายเลยสักคำ เพียงแค่จับตามองและดื่มด่ำไปกับบรรจงศิลป์ที่นำเสนอ ก็สามารถสัมผัสความฟอนเฟะที่หนังจงใจจิกเหยียดและตบสำนึกได้อย่างง่ายดาย
และสิ่งที่น่ากระหยิ่มยิ้มย่องที่สุดในหนังเรื่องนี้ก็คือ คนหิว เกมกระหาย อาหาร ไม่ว่าจะเลิสเลอขนาดไหนถ้ามันถูกปรุงสุกขึ้นมาด้วยไฟแห่งความเกรี้ยวกราด จอมปลอมและขาดความจริงใจ อาหารจานนั้นก็ไม่มีทางที่จะเอาชนะอาหารบ้าน ๆ ที่ปรุงสุกขึ้นมาด้วยไฟแห่งความชื่นชมยินดีไปได้หรอก .. ผัดงอแงคือเดอะเบสต์ค่ะ และอยากกินมันซะเดี๋ยวนี้ ให้ตายสิ
จุดเด่น
ซูฮกให้กับการแสดงของออกแบบ ชุติมณฑน์ และปีเตอร์-นพชัย ชัยนาม คุ้มค่ามากมายที่ได้ชมฝีมือที่ยอดเยี่ยมของสองคนนี้
องค์ประกอบศิลป์ที่แพรวพราว สวยงาม ดึงดูดและสามารถเล่าเรื่องด้วยภาพได้อย่างซู่ซ่า และเป็นจุดที่ชอบที่สุดของหนังเรื่องนี้
จุดสังเกต
บทมีความไม่สมเหตุสมผลและขาดความสมจริง จนทำให้เกิดแผลฉกรรจ์และน่าขัดใจอยู่หลายส่วน จนน่าเสียดายว่าหากใส่ใจที่ความสมจริงมากกว่านี้ หนังเรื่องนี้ต้องกลายเป็นที่กล่าวขวัญในด้านดีอย่างไม่ต้องสงสัย
การดำเนินเรื่องที่ไม่ปะติดปะต่อ และใส่เนื้อหา คำคมเพื่อจิกกัดมากเกินไป แถมยังไม่ส่งผลให้เกิดความคล้อยตาม ก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่สร้างแผลใหญ่ให้กับหนัง ไม่แพ้บทหนังเลยทีเดียว
นอกจากนี้ยังรู้สึกว่ามีพล๊อตหลวมพอสมควร เช่นพ่อของเชฟออยล้มแต่ไม่มีคนโทรไปบอกนางเอกเลย การเปลี่ยนใจของเชฟโตนในท้ายเรื่องก็พลิกคาเร็กเตอร์เกินไป หรืออาจจะเป็นเพราะว่าถูกการกระตุ้นเรื่องการหิวจากเชฟออยก็ได้ หรือการใส่บทเลิฟซีนเข้ามาในหนัง ระหว่าเชฟออยและเชฟพอลที่รู้สึกว่าไม่ได้เป็นต้องมีก็ได้ หรือแม้แต่การที่เชฟโตนพาเชฟออยไปดูแหล่งวัตถุดิบก็ไม่จำเป็นต้องอธิบายด้วยภาพหรือคำพูดอะไรมากมายด้วยเช่นกัน
โดยเฉพาะจุดสำคัญก็คือ การจบของเรื่องนั้นรู้สึกว่ามันมีความประนีประนอมเกินไป หนังสามารถจบในแบบที่เชฟออยพ่ายแพ้ ไปแบบทุกกระบวนท่าเลยก็ได้ โดยทำให้เห็นว่าเชฟออยต้องเรียนรู้อะไรบ้าง สูญเสียอะไรบ้าง และพ่ายแพ้ต่ออุปทานหมู่อย่างหมดรูปก็น่าจะดีกว่าการจบในแบบ happy ending ไปเลยก็ได้ เชื่อว่าถ้าจบแบบนี้คนดูจะได้อะไรจาก Hunger: คนหิว เกมกระหายมากกว่า ได้นำไปคิดต่อแบบไม่สิ้นสุดมากกว่า และมันน่าจะตราตรึงใจมากกว่า
ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลที่ เราได้กล่าวไปนั้นมันก็คือความรู้สึกส่วนตัว มันคือรสนิยมส่วนตัว และมันคือทัศนคติส่วนตัวของผู้เขียนเองทั้งสิ้น ซึ่งอาจจะถูกใจหรือไม่ถูกใจทุกท่าน ก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ แต่ถ้า ท่านผู้ชม หรือผู้อ่านท่านใด มีความเห็นต่างก็สามารถเขียน comment มาแลกเปลี่ยนกันได้ ซึ่งถือว่าเป็นการเติมเต็มซึ่งกันและกัน จะถือว่าเป็นพระคุณอย่างยิ่ง
และเมื่อเราเดินทางในการรีวิวและวิเคราะห์สัญลักษณ์มาถึงจุดนี้ก็คงสรุปได้ว่า Hunger: ไม่ว่าใครก็ตาม อยู่ในสถานะไหนก็ตาม ไม่ว่าจะยากดีมีจน ชนชั้นแรงงานหรือชนชั้นปกครอง ก็ล้วนแล้วแต่มีความกระหายเป็นแรงผลักดันให้ชีวิตก้าวเดินไปข้างหน้าด้วยกันทั้งสิ้น และไม่มีอะไรผลักดันชีวิตได้ดีกว่า ความหิวกระหายอีกแล้ว
ท้ายที่สุดก็อยากบอกว่า Hunger: คือหนึ่งในหนังไทยที่แสดงความทะเยอทะยานที่อยากจะหลีกหนีออกจากกรอบเดิม ๆ ของหนังไทย เน้นศิลปะภาพยนตร์ด้านภาพ เน้นการโยนคำถามให้กับคนดู ให้ได้ข้อขบคิดต่อยอด ไม่ได้เน้นแต่ความเป็นตลาด เน้นแต่หนังผี เน้นแต่หนังที่ด่ากัน หรือตลกไปวัน ๆ แบบไม่มีสาระอะไรมากมาย เป็นหนังที่ค่อนข้างกล้าเสียดสีสังคมและการเมืองอยู่ในระดับหนึ่ง ถึงแม้ว่าจะไปไม่สุดก็ตาม แล้วโดยส่วนตัวก็อยากจะขอชื่นชมว่า Hunger: คนหิว เกมกระหาย สมควร ได้รับการชมจากคนไทยทุกคน
ยังมีเรื่องราวแนวคิด และปรัชญาอีกมากมายใน Hunger: ที่ทางช่องของเราไม่อธิบายไว้ ณ ที่นี้ เพราะมันจะยืดยาวเกินไป ก็ขอให้ทุกท่านไปรับชม Hunger: คนหิว เกมกระหาย ได้ทาง Netflix แล้วก็ลองจับประเด็นดูก็ว่าเขาต้องการจะสื่ออะไร และลองตีความเอาเองจะดีกว่า เชื่อว่าน่าจะสนุกและมีความแตกต่างตามประสบการณ์ของแต่ละคน
แล้วสุดท้ายจริง ๆ อย่าเพิ่งไปหลงเชื่อคำใคร และอยากไปด่วน ตัดสินว่าหนังเรื่องไหนดีหรือไม่ดี หากยังไม่ได้รับชมด้วยตนเอง และอย่าให้อคติมันบดบัง ไม่เปิดหูเปิดตาเปิดใจในการรับชมหนังไทย ชมแล้วดีไม่ดีอย่างไรค่อยชื่นชมหรือด่าก็ไม่ว่ากัน
เรื่องราวของ ออย หญิงสาวที่จำเป็นต้องสานต่อธุรกิจร้านขายราดหน้า-ผัดซีอิ๊วของครอบครัว เนื่องจากคุณพ่อเริ่มแก่ตัวและยังต้องส่งเสียน้องสาวเข้าเรียนระดับมหาวิทยาลัย
แต่แล้ววันหนึ่ง ออย ก็ได้พบกับ โตน เชฟหนุ่มที่เป็น 1 ในทีม ฮังเกอร์ ที่นำทีมโดย เชฟพอล เชฟชื่อดังอันดับ 1 ของประเทศ ซึ่ง โตน รู้สึกประทับใจในรสชาติผัดซีอิ๊วของ ออย เขาจึงได้ชักชวน ออย ให้มาเข้าร่วมทีม ฮังเกอร์ แทนคนเก่าที่เพิ่งออกจากทีมไป
ด้วยความที่อยากจะดิ้นรนออกจากชีวิตและสังคมที่ลำบากยากแค้น และอยากเป็นคนพิเศษเป็นที่ยอมรับของทุกคน ออย จึงตัดสินใจไปตามคำชักชวนของ โดน
และการตัดสินใจในครั้งนั้นนั่นเองที่ได้เปลี่ยนแปลงชีวิตและมุมมองของ ออย ไปตลอดกาล
ความรู้สึกหลังดูจบ
ความรู้สึกแรกที่แว๊บเข้ามาเลยตั้งแต่ช่วง 10 นาทีแรกของหนังคือ “ทำไมหนังมันดูประดิษฐ์จังวะ” มันรู้สึกถึงความไม่ธรรมชาติของทั้งไดอะลอคและตัวละครทั้งตัวละครหลักและตัวประกอบทั้งหมดเลย
และไม่ใช่เพียงแค่ 10 นาทีแรกเท่านั้น เพราะความรู้สึกนี้มันก็ยังตามมาตลอดทั้งเรื่องจนหนังจบเลยฮะ โดยเฉพาะไดอะลอคที่เต็มไปด้วยภาษาที่เหมือนภาษาเขียนมากกว่าที่จะเป็นภาษาพูด และเต็มไปด้วยไดอะลอคการกระทบกระเทียบ แอบแซะ และจิกกัดวิถีชีวิต-ความเหลื่อมล้ำของสังคมในยุคนี้ โดยการยัดใส่ปากตัวละครให้พ่นออกมา ซึ่งมันมากเสียจนรู้สึกว่ามันขาดชั้นเชิงในการนำเสนอไปเลย
เหมือนคนสร้างตั้งใจจะสื่อสารกับคนดูว่า “นี่พวกคุณ เราจะทำหนังที่ประชดประชันสังคมความเหลื่อมล้ำนะ นี่ๆ ฉากนี้ เราจะพูดกันเรื่องนี้นะ ฉากนั้น เราจะด่าเรื่องนี้นะ” คือมันเปิดออกมาโต้งๆ เลย โดยที่คนดูไม่จำเป็นต้องคิดตามหรือตีความอะไรมากมายก็รับรู้ได้ว่าคุณกำลังด่าใครอยู่
และพอเราไม่ต้องคิดหรือตีความอะไรมากกับสารที่คนทำหนังต้องการสื่อ เราจึงหันไปโฟกัสกับแผล, กับพลอตโฮล และความไม่สมจริงที่มีอยู่เต็มไปหมดตลอดทั้งเรื่องแทน และมันยิ่งทำให้เรารู้สึกว่าหนังขาดการทำการบ้านเกี่ยวกับการนำเสนออาชีพเชฟหรือคนทำอาหารไปเยอะพอสมควร (ซึ่งแม้ส่วนตัวจะไม่ใช่คนที่ทำอาหารเป็น แต่ก็ผ่านการดูรายการสอนทำอาหาร และการแข่งขันทำอาหารทั้งของไทยและต่างชาติมาหลายรายการอยู่ ก็พอจะทำให้รู้รายละเอียดเกี่ยวกับวิถีของการทำอาหารอยู่บ้างนะฮะ)
อีกทั้งตัวละครในทีม ฮังเกอร์ คนอื่นๆ ที่มีคาแรคเตอร์ที่น่าสนใจมากๆ อยู่หลายตัว ก็ไม่ได้ถูกหยิบมาใช้งานอะไรเลย ถูกเขี่ยทิ้งไปอย่างน่าเสียดาย ทั้งๆ ที่ตอนแนะนำตัวละครเหล่านี้ ก็เหมือนจะมีอะไรให้เล่นอยู่เยอะ แต่สุดท้ายก็กลายเป็นแค่ตัวประกอบที่ใส่มาเพื่อให้ทีมมีจำนวนคนครบๆ เท่านั้นเอง
แล้วตามธรรมเนียมของหนังแนวนี้ ที่ว่าด้วยเรื่องการออกเดินทางตามหาความฝัน, การดิ้นรนหาเส้นทางของตัวเอง หรือหาแสงมาประดับตัวเพื่อให้เป็นที่ยอมรับ เป็น Somebody ในสังคม ซึ่งไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดๆ ก็ตาม สุดท้ายหนังก็มักจะลงเอยในทำนองว่า “สูงสุดกลับคืนสู่สามัญ” แต่กับตอนจบของ ฮังเกอร์ กลับให้ความรู้สึกเหมือนดูละครอย่าง “ฟ้ามีตา” ไปได้ซะงั้น ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะในช่วงไคลแมกซ์ของเรื่องที่ไม่สามารถผลักดันอารมณ์และภาพรวมของเรื่องให้พีคพอที่จะส่งออกมาให้ถึงคนดูได้ สิ่งที่ต้องการนำเสนอ, สารที่ต้องการจะสื่อ, บทเรียนสุดท้ายที่ต้องการจะสอน มันจึงทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพอย่างที่ควรจะเป็น
การดำเนินเรื่องโดยรวม จริงๆ แล้วก็เริ่มต้นมาได้อย่างน่าสนใจและชวนให้ติดตามมากๆ เลยนะฮะ แต่แล้วความน่าสนใจกลับค่อยๆ แผ่วลงจนสุดท้ายในฉากไคลแมกซ์ก็ไม่ได้พีคอย่างที่กล่าวไปข้างต้น มันจึงทำให้รู้สึกว่าหนังมันยาวไปนะ ถ้าลดเหลือสักชั่วโมงครึ่งหรือเกือบๆ 2 ชั่วโมง แล้วเล่นกับแก่นของเรื่องให้กระชับกว่านี้ ก็น่าดีนะ
hunger
6.5 เต็ม 10 ละกันฮะ กับความพยายามที่จะยกระดับหนังไทยให้แตกต่างจากหนังตลาดทั่วๆ ไป เพียงแต่ถ้าคนทำหนังให้ความสำคัญกับองค์รวมของหนังและทำการบ้านในส่วนของสายอาชีพที่ตัวเองต้องการนำเสนอให้มากกว่านี้ แทนที่จะไปให้ความสำคัญกับการพยายามประชดประชันเสียดสีจิกกัดสังคมมากจนเกินไป ก็น่าจะทำให้หนังออกมาได้น่าประทับใจกว่านี้ และมีแผลน้อยกว่านี้นะฮะ
2 thoughts on “คนหิว เกมกระหาย”